ชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC)

หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)

เป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้ได้รับความรู้ ทักษะกระบวนการด้านการคิด การแก้ปัญหาตามสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระ ตลอดจนมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีคุณธรรรม จริยธรรมที่ดีงาม มีปัญญามีความเป็นผู้นำบนพื้นฐานของความเป็นไทย และส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นหาความสามารถและพัฒนาความสามารถของตนเองให้เต็มศักยภาพ จึงจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้เนื้อหาวิชา ตามหลักสูตรการศึกษาชั้นพื้นฐาน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ค้นพบความสามารถของตนเอง และพัฒนาความสามารถของตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ ดังนี้

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ในลักษณะการสอนแบบบูรณาการ โดยแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้มีลักษณะของวิชา ดังนี้

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

จัดการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยจัดการสอนในรูปแบบของกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อกระตุ้นความสนใจและพัฒนาองค์ความรู้ในทุกด้านของผู้เรียน เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จาการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง สามารถนำเสนอผลงาน อีกทั้งสามารถทำงานเป็นกลุ่มเพื่อปรับตัวในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ทั้งนี้มีการนำสื่อเทคโนโลยี ที่ทันสมัยมาใช้ในการประกอบการสอน เช่น นำนวัตกรรม ด้านสื่อการเรียนการสอนมาประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษา ได้แก่ ทักษะการฟัง ทักษะการพูด ทักษะการอ่าน ทักษะการเขียนและทักษะการดู นอกจากนี้มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดทั้งการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ปลูกฝังให้นักเรียนมีทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง สามารถนำทักษะทางภาษาไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน และเน้นให้เห็นคุณค่าของการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องเพื่ออนุรักษ์ความเป็นไทยสืบไป

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

จัดการเรียนการสอนเพื่อมุ่งพัฒนาให้นักเรียน เป็นคนดี คนเก่ง และเรียนรู้อย่างมีความสุข ด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย เน้นให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมจากการลงมือปฏิบัติจริงทั้งรายกลุ่มและรายบุคคล ฝึกกระบวนการคิดด้านต่าง ๆ ทั้งกระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล กระบวนการคิดสร้างสรรค์ โดยฝึกให้ผู้เรียนรู้จักเชื่อมโยงมีการนำสภาพแวดสิ่งที่มีอยู่เป็นสื่อกลางการเรียนรู้ อีกทั้งมีการนำสื่อเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสมซึ่งนำไปสู่การจัดการสอนโดยใช้โครงงานต่าง ๆ

 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

จัดการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับตัวเราและสิ่งแวดล้อมตลอดจนธรรมชาติใกล้และไกลตัวด้วย เพื่อมุ่งพัฒนาให้นักเรียน เป็นคนดี คนเก่ง และเรียนรู้อย่างมีความสุขจากการเรียนรู้ด้วยวิธีการสืบเสาะหาความรู้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างสมเหตุสมผล มีความคิดสร้างสรรค์กล้าแสดงออกในทางที่สร้างสรรค์ สามารถใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับยุคสมัย ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม ส่งเสริมให้รู้และทันกับนวัตกรรมต่าง ๆ ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ทำให้เกิดทักษะพื้นฐานที่ดีและมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์

 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

จัดการเรียนการสอนแบบ e-learning คือ ให้นักเรียนสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเทคโนโลยีจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ โดยไม่จำกัดทั้งเวลาและสถานที่ รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนความรู้กับกลุ่มผู้เรียนด้วยกันหรือกับผู้สอนโดยไม่จำกัด มุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ฝึกการแก้ปัญหาด้วยตนเอง มีทักษะในการแสวงหาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย สามารถนำวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้ ซึ่งผู้เรียนจะได้พัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพในทุกด้าน โดยสอนแบบโครงงาน การสอนแบบชุดการสอน การแสดงบทบาทสมมติ การอภิปราย ฯลฯ

 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

มุ่งพัฒนานักเรียนให้มีสุขภาพที่ดีด้วยการสร้างเสริมสุขภาพพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน ครอบครัว และชุมชนให้ยั่งยืน การจัดการเรียนการสอนโดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถพัฒนา พฤติกรรม ทางด้านสุขภาพทั้งทางร่างกาย และจิตใจ จนกระทั่งให้ผู้เรียนมีวิถีชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพที่ดีอย่างครบถ้วนทั้งด้านความรู้ ความเข้าใจ และทักษะกระบวนการทางการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมการมีสุขภาพ และบุคลิกภาพที่ดี

 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ

มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะกระบวนการทำงาน คุณธรรมจริยธรรม และค่านิยม มุ่งเน้นกระบวนการทำงานและการจัดการอย่างเป็นระบบ ใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี ตลอดจนนำเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาไทย และเทคโนโลยีสากลมาประยุกต์ใช้ในการทำงานอย่างถูกต้อง จัดประสบการณ์โดยบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้และต่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติจริงในทุกกลุ่มกิจกรรม อาทิการเรียนรู้ระบบการจัดการด้านธุรกิจ คิดออกแบบดำเนินการ แก้ไขปัญหาผลิตสินค้าออกจำหน่ายเป็นอาชีพเสริม และสามารถประยุกต์ใช้ใช้ในชีวิตประจำวัน และเป็นพื้นฐานในการประกอบอบอาชีพได้มีการประเมินผลตามสภาพจริง เน้นวัดพฤติกรรมตามความสามารถ และวิธีการวัดอย่างหลากหลาย

 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์

ประกอบด้วยสาระวิชา 3 สาระ คือ วิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) ดนตรี (ดนตรีไทย-ดนตรีสากล) และนาฎศิลป์ ซึ่งผู้เรียนจะได้รับความรู้และได้พัฒนาศักยภาพตามพัฒนาการของผู้เรียนโดยการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับชั้บชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ผู้เรียนจะได้เรียนรู้และฝึกทักษะกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายในทุกสาระวิชา ซึ่งมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงานเพื่อเป็นพื้นฐานในขั้นสูงต่อไป และในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ผู้เรียนจะได้เลือกเรียนเนื้อหาตามสาระที่ตนเองถนัด และสนใจ ซึ่งมุ่งเน้นให้ผู้เรียนค้นหาว่าตนเองชอบอะไร ได้รู้จักตนเองมากขึ้น และสามารถเลือกสรรสิ่งที่ก่อประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นได้

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)

โดยคาดหวังว่าเมื่อเรียนภาษาต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ผู้เรียนจะมีเจตตติที่ดีต่อภาษาต่างประเทศ สามารถใช้ภาษาต่างประเทศสื่อสารในสถานการณ์ต่าง ๆ จึงเน้นการจัดการเรียนการสอนภาษาให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกทักษะการใช้ภาษาให้มากที่สุด ทั้งในและนอกห้องเรียนและใช้กิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งกิจกรรมฝึกทักษะทางภาษา และกิจกรรมการฝึกผู้เรียนให้รู้วิธีการเรียนการสอนภาษาด้วยตนเองควบคู่ไปด้วย อันจะนำไปสู่การเป็นผู้เรียนที่พึ่งตนเองได้และสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตโดยไม่ลืมที่จะเป็นผู้มีความรู้ ทักษะ กระบวนการ และคุณธรรรม จริยธรรม ค่านิยมในความเป็นไทยตามความมุ่งหมายของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) จัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนในด้านต่าง ๆ ดังนี้

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกิจกรรมการใช้ห้องสมุด

เป็นกิจกรรมที่จัดสอนให้ผู้เรียน ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2 โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในทักษะการใช้ห้องสมุด การจัดเก็บและสืบค้นข้อมูลการดูแลรักษาหนังสือ การยืม-คืน หนังสือ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสืบค้นข้อมูล เพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียนเป็นผู้ใฝ่รู้สามารถคิดเป็น ทำเป็น ฉลาด และรู้จักเลือกสิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและและผู้อื่น

การจัดการเรียนการสอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

เป็นการจัดกิจกรรมที่จัดสอนให้กับผู้เรียน ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 เป็นกิจกรรมที่มุ่งส่งเสริมและพัฒนาความสามารถของผู้เรียนให้เหมาะสม ตามความแตกต่างระหว่างบุคคล สามารถค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตน เสริมสร้างทักษะชีวิต วุฒิภาวะทางอารมณ์ และการสร้างสัมพันธภาพที่ดี ลักษณะการจัดการเรียนการสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์ นอกจากนี้ยังมีบริการแนะแนวให้คำปรึกษาด้านชีวิต การศึกษาต่อ และการพัฒนาตนเองสู่โลกกว้างทางอาชีพ

 การจัดการเรียนการสอนกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี

ของโรงเรียนแบ่งหลักสูตรลูกเสือ-เนตรนารี ออกเป็น 2 หลักสูตร ได้แก่

  • หลักสูตรลูกเสือ-เนตรนารีสำรอง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
  • หลักสูตรลูกเสือ-เนตรนารีสามัญ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6

โดยจัดกิจกรรมจะมุ่งปลูกฝังความมีระเบียบวินัย กฎเกณฑ์ เพื่อการอยู่ร่วมกันอันนำไปสู่พื้นฐานการทำประโยชน์แก่สังคม และพัฒนาบุคลิกภาพลักษณะนิสัย ให้มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์มีความสํานึกที่ดี รู้จักช่วยเหลือผู้อื่นและรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ

ตามหลักสูตรโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)

การออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ ดำเนินการเป็นลักษณะหัวเรื่อง (Theme Units) ที่ จัดหน่วยบูรณาการ (Integrated Unit) ที่พิจารณาจากเนื้อหาสาระที่มีความใกล้เคียงและสอดคล้องกัน บูรณาการทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหน่วยการเรียนรู้ต่าง ๆ ด้วย ซึ่งเนื้อหาวิชาที่จะบูรณาการมีตั้งแต่ 2 วิชาขึ้นไป ทั้งนี้โรงเรียนได้กำหนดหน่วยการเรียนรู้ในทุกระดับชั้น (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6) จำนวน 8 หน่วยการเรียนรู้ดังนี้

  • หน่วยที่ 1 เรื่องเล่า จากตัวเรา
  • หน่วยที่ 2 ครอบครัว หัวกะทิ
  • หน่วยที่ 3 ฟ้าสวย น้ำใส ใส่ใจ
  • หน่วยที่ 4 ชีวิตดีดี มีได้ทุกวัน
  • หน่วยที่ 5 รอบรู้ทั่วไทย ท่องไปทั่วโลก
  • หน่วยที่ 6 วัฒนธรรมโลกตะลึง
  • หน่วยที่ 7 อาสาสมัคร พิทักษ์โลก
  • หน่วยที่ 8 เคล็ดลับ นวัตกรรม

สำหรับการจัดการเรียนการสอนเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นการสอนที่เป็นบูรณาการ (Integrative Teaching Styles) มีวิธีการที่หลากหลายให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ โดยใช้เทคนิคการเรียนการสอนที่ผสมผสานกัน ฝึกให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบด้วยวิธีการสืบสอบ (Inquiry) หรือใช้วิธีการแก้ปัญหา (Problem Solving) เน้นการทำงานร่วมกัน มีงานกลุ่มหรืองานเดียวผสมผสานกันไป เน้นการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในประสบการณ์จริง ประสบการณ์การเรียนรู้ที่อยู่ในขอบเขตการดูแลของครูผู้สอน ซึ่งจัดให้ในรูปแบบของโครงการที่ทำร่วมกันโดยบูรณาการเชื่อมโยงเนื้อหา ความรู้จากหลายหลากวิชาในเรื่องเดียวกัน

  การจัดทำผลงานทางวิชาการ และเผยแพร่งานวิชาการ

ผลงานทางวิชาการ คือ “เอกสารหรือหลักฐาน ใด ๆ ที่สร้างขึ้นจากการศึกษา ค้นคว้า รวบรวม เรียบเรียงวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ ซึ่งแสดงถึงความชำนาญการหรือความเชี่ยวชาญในการสอน หรือการนิเทศหรือการบริหารสถานศึกษาของผู้จัดทำผลงาน และได้นำไปใช้ในการพัฒนางานในหน้าที” ในปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) ได้ส่งเสริมให้อาจารย์ได้จัดทำผลงานทางวิชาการ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

รายชื่อ หัวข้อวิจัย/บทความ หน่วยงาน/ระยะเวลา
อาจารย์มานพ สอนศิริ การพัฒนาตัวชี้วัดทักษะชีวิตด้านการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนระดับประถมศึกษา กลุ่มโรงเรียนสาธิตสังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐ วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ (Interdisciplinary Academic and Research Journal)
ปีที่ 3 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม พ.ศ.2566
อาจารย์สิริมงคล สุวรรณผา การพัฒนาตัวชี้วัดคุณลักษณะความเป็นครูมืออาชีพของบัณฑิตใหม่ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ
ปีที่ 3 ฉบับที่ 5 กันยายน - ตุลาคม 2566
อาจารย์นันท์นลิน สีแก่นวงค์ การวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยในการเรียนออนไลน์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา Srinakharinwirot Academic Journal of Education
ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2566
อาจารย์เปรมพล วิบูลย์เจริญสุข การจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้ความคิดเชิงออกแบบสำหรับนักเรียนประถมศึกษา Journal of Roi Kaensarn Academi
ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 เมษายน 2566
อาจารย์วิยะดา คำลาพิศ
อาจารย์วรัญญู เถนว้อง
ผลการฝึกตารางเก้าช่องผสมผสานกับการเคลื่อนไหวประกอบจังหวะที่มีต่อทักษะความคล่องแคล่วว่องไวของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษระดับประถมศึกษา วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า
ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 กันยายน 2566
อาจารย์ทยิดา เลิศชนะเดชา กลยุทธ์การโค้ชจากผู้เชี่ยวชาญร่วมกับการสะท้อนคิด เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง (Co-5 STEPs) ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า
ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2566
อาจารย์ทยิดา เลิศชนะเดชา การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมความสามารถการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ
ปีที่ 3 ฉบับที่ 5 กันยายน - ตุลาคม 2566
อาจารย์ทยิดา เลิศชนะเดชา การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่เน้นกรณีศึกษาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ตามแนวคิดของมาร์ซาโนสำหรับผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น Interdisciplinary Academic and Research Journal
ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 มีนาคม-เมษายน 2567
อาจารย์กิติศักดิ์ เสียงดี
อาจารย์อัญชลี บุญจันทึก
แนวทางการจัดกิจกรรมดนตรีสำหรับเด็กออทิสติกในระดับประถมศึกษา วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ
ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2566
อาจารย์อัญชลี บุญจันทึก
อาจารย์กิติศักดิ์ เสียงดี
อาจารย์กนกวรรณ รัตนศรีสุโข
อาจารย์ปัญชลีย์ รัตนสิงห์ขรณ์
การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กออทิสติกด้วยการจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมดนตรีตามแนวคิดของ คาร์ลออร์ฟ วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ
ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2566
อาจารย์กิติศักดิ์ เสียงดี
อาจารย์อัญชลี บุญจันทึก
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมดนตรีพหุสัมผัสเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กปฐมวัย วารสารนิสิตวัง
ปีที่ 25 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2566
อาจารย์นภาภรณ์ เจียมทอง
อาจารย์เปรมพล วิบูลเจริญสุข
การจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้ความคิดเชิงออกแบบสำหรับนักเรียนประถมศึกษา Journal of Roi Kaensarn Academi
ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 เมษายน 2566
อาจารย์อัญชลี บุญจันทึก วิจัยเรื่อง ผลการใช้แบบฝึกทักษะ วิชาคณิตศาสตร์ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ ACE ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) ทุนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)
ปีงบประมาณ 2566
อาจารย์กนกวรรณ รัตนศรีสุโข
อาจารย์กิติศักดิ์ เสียงดี
อาจารย์ปัญชลีย์ รัตนสิงห์ขรณ์
อาจารย์อัญชลี บุญจันทึก
วิจัยเรื่อง การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กออทิสติกด้วยการจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมดนตรีตามแนวคิดของ คาร์ลออร์ฟ ทุนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)
ปีงบประมาณ 2566

  ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร

การพัฒนาบุคลากร เป็นการดำเนินงานเกี่ยวกับการส่งเสริมให้บุคคลมีความรู้ความสามารถมีทักษะในการทำงานดีขึ้นตลอดจนมีทัศนคติที่ดี ในการทำงานอันจะเป็นผลให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งการพัฒนาบุคลากรเป็นกระบวนการที่จะสร้างเสริมและเปลี่ยนแปลงผู้ปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ความสามารถ ทักษะ อุปนิสัย ทัศนคติ และวิธีการในการทำงานอันจะนำไปสู่ประสิทธิภาพในการทำงาน ทั้งนี้ในระยะเวลาของปีการศึกษา 2566 ที่ผ่านมา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) ให้บุคลาคลากรเข้าร่วมการพัฒนาทั้งจากโครงการที่โรงเรียนจัดขึ้นเอง และหน่วยงานภายนอกต่าง ๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

โครงการส่งเสริมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)