หลักสูตรการสอน

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)

หลักสูตรภาคปกติ

ระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาล 1 – 3
ระดับประถมศึกษา ชั้นปีที่ 1 – 6

หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ

ระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาล 1 – 3
ระดับประถมศึกษา ชั้นปีที่ 1 – 6

ศูนย์การศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ

เปิดสอนระดับประถมศึกษา
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6

โครงสร้างหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)

โครงสร้างหลักสูตร

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)

โครงสร้างหลักสูตรภาคปกติ

โครงสร้างหลักสูตรระดับปฐมวัย

หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) พุทธศักราช 2560 จัดทำขึ้นโดยคณะผู้บริหาร และคณาจารย์ของโรงเรียนร่วมกันดำเนินการวิเคราะห์สาระเนื้อหาตามหลักสูตรสถานศึกษา ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 พุทธศักราช 2553 เทียบกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาระดับปฐมวัยพุทธศักราช 2560 ซึ่งทางโรงเรียนได้มีการพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมกับผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมให้ลอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้มากยิ่งขึ้นโดยนำเอกลักษณ์ของชุมชน สังคม บุคคล สถานที่แวดล้อม ธรรมชาติรอบ ๆ ตัวเด็ก รวมทั้งศิลปะและภูมิปัญญาท้องถิ่น มากำหนดเป็นสาระ ซึ่งคำนึงถึงความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคล ให้เด็กได้มีประสบการณ์ โดยยึดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย จุดมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ของหลักสูตร และมีการเพิ่มเติม ในส่วนของคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามเกณฑ์มาตรฐานของ การประกันคุณภาพมาตรฐานการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา เพื่อส่งเสริมพัฒนาเด็กอย่างเต็มศักยภาพ พร้อมกับคุณธรรมจริยธรรม สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ในแต่ล่ะหน่วยการเรียนจะเรียงลำดับเนื้อหาจากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวไปสู่สิ่งที่ไกลตัวเป็นหน่วยการเรียนการสอน ดังนี้

หน่วยการเรียนรู้ หัวเรื่อง
ภาคเรียนที่ 1
Introduction / ปฐมนิเทศ
1. ตัวเรา - My body and health / ร่างกายของฉันและสุขภาพดีมีพลัง
- My 5 senses and feelings / ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และ ความรู้สึก
- My family and home / บ้านแสนสุข
- My community and occupations / ชุมชนของฉัน และ อาชีพ
2. ธรรมชาติรอบตัว - Plants,trees,flowers and Insects / สีสันสดสวยด้วยพรรณไม้ และโลกของแมลง
- Fruit and vegetables / ผลไม้หลากรสและผักดีมีคุณ
- Farm animals and Pets/ Habitats / สัตว์เลี้ยงแสนรัก/ แหล่งที่อยู่อาศัย
- Wild animals / Habitats / ชีวิตสัตว์ป่า / แหล่งที่อยู่อาศัย
- Weather and seasons / สภาพอากาศและฤดูกาล
- Water Cycle, rivers and oceans / น้ำคือชีวิต
- Sea life / โลกใต้ทะเล
ภาคเรียนที่ 2
3. โลก - Countries, continents and culture / ต่างแดนแสนสนุก
- Pre-historic times (dinosaurs) / ยุคไดโนเสาร์
- Early civilization (people) / ยุคหิน
- Day and Night / กลางวันและกลางคืน
- Space and Solar system / จักรวาลและดวงดาว
4. เทคโนโลยีและนวัตกรรม - Transport (land, air, water, forces and motion, friction, float and sink) / หนูน้อยนักเดินทาง
- Tools and Machines / เครื่องมือและเครื่องจักร
- Media (newspaper, magazine, internet, video, computer, smart phone, tablet) / สื่อเทคโนโลยี
- Energy (solar, wind, fossil, gas, electric) / พลังงาน
- Pollution (air/water pollution, water saving/energy saving methods) / มลพิษ
- Economics (want & needs, expenses, value of money in relation to items) / หนูน้อยนักเศรษฐศาสตร์

ในแต่ละหน่วยจะเรียนประมาณ 8 สัปดาห์ หน่วยการเรียนการสอนสามารถยึดหย่นได้ตามความเหมาะสม และสอดคล้องกับเหตุการณ์ปัจจุบันและโรงเรียนได้จัดกิจกิจกรรม 6 กิจกรรมหลัก ในตารางกิจกรรมแต่ละวัน ดังต่อไปนี้

 กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะดนตรี
 กิจกรรมกลุ่ม
 กิจกรรมเสรี
 กิจกรรมกลางแจ้ง และการละเล่นของไทย
 กิจกรรมสงบ
 กิจกรรมเกมการศึกษา

โครงสร้างหลักสูตรภาคปกติ

โครงสร้างหลักสูตรระดับประถมศึกษา

หลักสูตรการจัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ค้นพบความสามารถของตนเอง และพัฒนาความสามารถของตนเอง ได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยในช่วงชั้นที่ 1 (ป.1-3) ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เนื้อหาทั้ง 8 กลุ่มสาระตามที่โรงเรียนกำหนด เพื่อตรวจสอบความสนใจและความถนัดของตนเอง ในช่วงชั้นที่ 2 (ป.4-6) ผู้เรียนจะได้เลือกเรียนในวิชาที่ตนเองถนัดและสนใจเป็นพิเศษ เพิ่มเติมจากเนื้อหาที่โรงเรียนกำหนดให้ เพื่อเติมเต็มศักยภาพของตนเองตามตารางโครงสร้างหลักสูตร ดังนี้

โครงสร้างหลักสูตรระดับประถมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6

รายวิชาพื้นฐาน ระดับชั้น
ป. 1 ป. 2 ป. 3 ป. 4 ป. 5 ป. 6
ภ.1 ภ.2 ภ.1 ภ.2 ภ.1 ภ.2 ภ.1 ภ.2 ภ.1 ภ.2 ภ.1 ภ.2
1. ภาษาไทย 6 6 6 6 5 5 4 4 4 4 4 4
2. คณิตศาสตร์ 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5
3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3 3 3 3 4 4 4 4 4 4 4 4
4. สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3
5. สุขศึกษาและพลศึกษา 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2
6. ศิลปะ 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2
7. การงานอาชีพ 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1
8. ภาษาอังกฤษ 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5
รวมรายวิชาพื้นฐาน (คาบ:สัปดาห์) 27 27 27 27 27 27 26 26 26 26 26 26
วิชาซ่อมเสริมพัฒนาการ 1 1 1 1 1 1 - - - - - -
วิชาเลือกเสรี 8 กลุ่มสาระ - - - - - - 2 2 2 2 2 2
รวมรายวิชาพื้นฐาน (คาบ:สัปดาห์) 1 1 1 1 1 1 2 2 2 2 2 2
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
- กิจกรรมพัฒนาตน 1 1 1 1 1 1 - 1 - 1 - 1
- การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง 1 1 1 1 - - - - - - - -
- กิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี - - - - 1 1 1 1 1 1 1 1
- กิจกรรมชมรม - - - - - - 1 - 1 - 1 -
- กิจกรรมโฮมรูม 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2
รวมรายวิชาพื้นฐาน (คาบ:สัปดาห์) 4 4 4 4 4 4 4 4 4 4 4 4
รวมเวลาเรียน (คาบ / สัปดาห์) 32 32 32 32 32 32 32 32 32 32 32 32
กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ปีละ 10 ชั่วโมง
รวมเวลาเรียน ทุกวิชาตลอดปี ไม่ต่ำกว่า 1,000 ชั่วโมง : ปี

โครงสร้างหลักสูตรโครงการภาคภาษาอังกฤษ

โครงการภาคภาษาอังกฤษ ทั้งระดับปฐมวัยและประถมศึกษาสัดส่วนของกิจกรรม การเรียนการสอนจะเรียนเป็นภาษาอังกฤษ 80 % และเรียนเป็นภาษาไทย 20 %

หลักสูตรระดับปฐมวัย มุ่งส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาด้วยการบูรณาการ เนื้อหาวิชา มาจัดเป็นกิจกรรมต่าง ๆ ที่ตอบสนองความสนใจของผู้เรียน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเรียนระดับต่อไป

หลักสูตรระดับประถมศึกษา เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในการพัฒนาผู้เรียน ให้เต็มศักยภาพด้วยการบูรณาการเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ให้สัมพันธ์กัน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อันเป็นสากลควบคู่กับสังคมและวัฒนธรรมไทย

Curriculum Structure English Program: Kindergarten

The curriculum contents across those disciplines are presented using themes.These themes are varied from their personal environment to the universe, The themes include:

Thematic structure first term Thematic structure second term
Week 1 : Introduction The world : Week 1 - 7
Self : Week 2 - 7 Week 1 - 2 : Countries , continents And culture
Week 2 : Health and My body Week 3 : Pre-historic times (dinosaurs)
Week 3 : My 5 senses and feelings Week 4 : Early civilization (people)
Week 4 - 5 : My family and home Week 5 : Day and Night
Week 6 - 7 : My community and occupations Week 6 - 7 : Space and Solar system
Nature : Week 8 - 16 Technology and Innovation : Week 8 - 16
Week 8 – 9 : Plants, trees, flowers and Insects Week 8 - 9 : Transport(land , air , Water, forces and motion , friction , Float and sink)
Week 10 - 11 : Fruit and vegetables Week 10 : Tools and Machines
Week 12 : Farm animals and Pets / Habitats Week 11 - 12 : Media (newspaper, Magazine, internet , video , computer , smart phone , tablet)
Week 13 : Wild animals / Habitats Week 13 : Energy (solar , wind , fossil Gas , electric)
Week 14 : Water Cycle , rivers and oceans Week 14 : Pollution (air/water pollution, Water saving/energy saving methods)
Week 15 : Weather and seasons Week 15 - 16 : Economics (want & need, expenses, value of money in Relation to items)
Week 16 : Sea life Week 17 : Review
Week 17 : Review

Curriculum Structure English Program: Elementary

The Elementary-level Curriculum for this school is based on experiential learning. The target is to make children aware of their own personal abilities, and to develop these abilities to the fullest. In the lower elementary levels, students will learn to identify their own strengths and weaknesses while studying thirteen subjects each year. This Knowledge will help students make appropriate choices for themselves when they graduate to the upper elementary levels. The subjects and their hours per week are listed in the chart below for each grade.

PRIMARY P. 1 P. 2 P. 3 P. 4 P. 5 P. 6
T.1 T.2 T.1 T.2 T.1 T.2 T.1 T.2 T.1 T.2 T.1 T.2
Thai Language 5 5 4 4 4 4 3 3 3 3 3 3
Mathematics 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5
Science and Technology 6 4 6 4 6 4 6 4 6 4 6 4
Social Studies, Religion and Culture 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3
Health and Physical Education 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1
Arts 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2
Occupations - 2 - 2 2 - 2 - 2 - 2 -
English 7 7 6 6 5 5 5 5 5 5 5 5
Chinese - - 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2
Elective - - - - - - 1 1 1 1 1 1
Development activity 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1
Boy Scouts - - - - 1 1 1 1 1 1 1 1
Total (periods / week) 30 30 30 30 30 30 30 30 30 30 30 30
Social activities 10 hours : year
Total (year) 1,000 hours : year

รูปแบบการจัดการศึกษา

โครงการศูนย์การศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ

โรงเรียน ได้จัดตั้งโครงการศูนย์การศึกษาสำหรับ เด็กพิเศษ เพื่อจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษที่มีศักยภาพในการเรียนร่วมได้ในดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 การจัดการศึกษานั้น ได้เปิดโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษโดยเน้นระบบการศึกษาแบบเรียนร่วมในชั้นเรียนปกติ มีครูการศึกษาพิเศษคอยดูแลในชั้นเรียนตามศักยภาพของผู้เรียน และทั้งนี้ยังมีการจัดระบบการศึกษาสำหรับนักเรียนที่ไม่สามารถเรียนร่วมได้ในบางรายวิชา โดยให้เรียนในห้องเรียนเสริมวิชาการกับครูการศึกษาพิเศษ ซึ่งได้จัดเนื้อหาการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา พร้อมทั้งให้สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคลทั้งนี้ได้มีการจัดรูปแบบของชั้นเรียน ดังนี้

ชั้นเตรียมความพร้อมเรียนร่วม หมายถึง การจัดการศึกษาให้นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ให้แก่นักเรียน เช่น ด้านวิชาการ การช่วยเหลือตนเอง ด้านทักษะทางสังคม ก่อนที่จะเข้าสู่ระบบการเรียนร่วมในชั้นเรียนปกติโดยครูการศึกษาพิเศษเป็นผู้สอนและมีการมีเรียนร่วมบางเวลาโดยครูการศึกษาพิเศษจะสอนคู่ขนานร่วมกับครูภาคปกติ เพื่อให้เด็กได้ฝึกทักษะการปฏิบัติและได้ฝึกทักษะทางสังคมจากการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อ เช่น วิชาดนตรี ศิลปะ พลศึกษา คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

ชั้นเรียนร่วมบางเวลา หมายถึง การจัดการศึกษาให้นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเรียนในชั้นเรียนปกติในบางรายวิชาโดยประเมินตามความสามารถของนักเรียนเป็นรายบุคคลจากครูการศึกษาพิเศษร่วมกับครูผู้สอนภาคปกติในแต่ละรายวิชา ซึ่งวิชาพื้นฐานที่นักเรียนจะได้เรียนร่วม คือ วิชาดนตรี ศิลปะ นาฏศิลป์ พลศึกษา การงานอาชีพ คอมพิวเตอร์ และร่วมกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี หรือรายวิชาอื่น ๆ เพิ่มเติมตามศักยภาพของนักเรียน ซึ่งนักเรียนที่รับการจัดการศึกษาในลักษณะนี้ คือ มีความบกพร่องระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจ เรียนร่วมเต็มเวลาได้ ทั้งนี้ในรายวิชาที่นักเรียนไม่สามารถเรียนร่วมได้ทางโครงการศูนย์การศึกษาพิเศษ ได้จัดการศึกษาในชั้นเรียนพิเศษโดยครูการศึกษาพิเศษเป็นผู้สอน ซึ่งมีเนื้อหาการเรียนสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา

ชั้นเรียนร่วมเต็มเวลา หมายถึง การจัดให้นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ได้เรียนชั้นเดียวกับเด็กปกติ ตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียนรวมทั้งกิจกรรมนอกโรงเรียน โดยมีครูการศึกษาพิเศษสอนคู่ขนานในชั้นเรียนเรียนร่วม เป็นการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ที่มีความสามามารถในการเรียนรู้และมีความพร้อมทางวุฒิภาวะทางอารมณ์และสังคม

การวัดและประเมินผลการเรียนของนักเรียนระดับประถมศึกษา

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)

การวัดและประเมินผลการเรียนของนักเรียนระดับประถมศึกษา

โรงเรียนมีการวัดและประเมินผลพัฒนาการของผู้เรียนในระดับประถมศึกษาทั้งรายบุคคลรายกลุ่มอย่างต่อเนื่อง จากการทำชิ้นงาน กิจกรรม และทดสอบ ซึ่งมีรูปแบบที่หลากหลาย ตามธรรมชาติวิชา ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยทางโรงเรียนจะรายงานผลการเรียนระหว่างภาคเรียนให้ผู้ปกครองทราบ 1 ครั้ง ก่อนที่จะมีการสอบปลายภาค เพื่อให้ผู้เรียนและผู้ปกครอง ได้มีโอกาสที่จะรู้แนวทางในการพัฒนาความรู้และพัฒนาความสามารถของตนเอง ได้เต็มศักยภาพอย่างเหมาะสม

การวัดและประเมินผลปลายภาคเรียนจะนำมาพิจารณาเป็น เกณฑ์การจบช่วงชั้นตามข้อกำหนดของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) เพื่อประกอบการประเมินคุณภาพผู้เรียน ดังนี้

ผู้เรียนต้องได้เรียนครบตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่ม และได้รับการตัดสินผลการเรียนตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยได้รับรายงานผลการเรียนกำหนด เป็น 8 ระดับ ดังนี้

ระดับผลการเรียน หมายถึง ระดับคะแนน
4 ดีเยี่ยม (80 - 100)
3.5 ดีมาก (75 - 79)
3 ดี (70 - 74)
2.5 ค่อนข้างดี (65 - 69)
2 ปานกลาง (60 - 64)
1.5 พอใช้ (55 - 59)
1 ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ (50 - 54)
0 ต่ำกว่าเกณฑ์ (0 - 49)

กรณีที่นักเรียนได้รับการตัดสินผลการเรียนเป็น ” 0 หมายถึง ผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ต้องแก้ไข ” นักเรียนต้องเข้ารับการซ่อมเสริม และประเมินตามที่โรงเรียนกำหนดแล้วจะได้รับการเปลี่ยนระดับผลการเรียนเป็น ” 1 หมายถึง ผลการเรียนผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด “

นักเรียนต้องผ่านการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน โดยมีเกณฑ์การประเมินกำหนดเป็น 4 ระดับ ดังนี้

ระดับผล การประเมิน หมายถึง ความหมาย
3 ดีเยี่ยม มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนที่มีคุณภาพดีเลิศอยู่เสมอ
2 ดี มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ
1 ผ่าน มีผลงานทีแสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนที่มีข้อบกพร่องบางประการ
0 ไม่ผ่าน ไม่มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนหรือถ้ามีผลงาน ผลงานนั้นยังมีข้อบกพร่องที่ต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขหลายประการ

กรณีนักเรียนได้รับผลการประเมิน ” 0 หมายถึง ไม่ผ่าน ” นักเรียนต้องเข้ารับการซ่อมเสริม และประเมินตามที่โรงเรียน แล้วจะได้รับการเปลี่ยนระดับผลการประเมินให้เป็น ” 1 หมายถึง ผ่านการประเมินการอ่านคิดวิเคราะห์ และเขียน “

นักเรียนต้องผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยมีเกณฑ์การประเมินกำหนดเป็น 4 ระดับ ดังนี้

ระดับผล การประเมิน หมายถึง ความหมาย
3 ดีเยี่ยม ผู้เรียนปฏิบัติตนตามคุณลักษณะจนเป็นนิสัย และนำไปใช้ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อประโยชน์สุขของตนเองและสังคม
2 ดี ผู้เรียนมีคุณลักษณะในการปฏิบัติตามเกณฑ์ เพื่อให้เป็นการยอมรับของสังคม
1 ผ่าน ผู้เรียนรับรู้และปฏิบัติตามเกณฑ์ และเงื่อนไขที่โรงเรียนกำหนด
0 ไม่ผ่าน ผู้เรียนรับรู้และปฏิบัติได้ไม่ครบตามเกณฑ์ และเงื่อนไขที่โรงเรียนกำหนด

กรณีนักเรียนได้รับผลการประเมิน ” 0 หมายถึง ไม่ผ่าน ” นักเรียนต้องเข้ารับการซ่อมเสริม และประเมินตามที่โรงเรียน แล้วจะได้รับการเปลี่ยนระดับผลการประเมินให้เป็น ” 1 หมายถึง ผ่านการประเมินคุณลักษณะ “อันพึงประสงค์ “

นักเรียนต้องเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยจะได้รับการประเมินผลเพื่อผ่านเกณฑ์ 2 เกณฑ์ คือ

** เกณฑ์การผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้

** เกณฑ์เวลาเข้าร่วมกิจกรรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลากิจกรรมทั้งหมดการตัดสินผลการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็น

“ผ” หมายถึง ผ่าน (เมื่อมีผลการประเมินผ่านทั้ง 2 เกณฑ์)

“มผ” หมายถึง ไม่ผ่าน (เมื่อมีผลการประเมินผ่าน ไม่ครบทั้ง 2 เกณฑ์)

กรณีนักเรียนได้รับผลการประเมินเป็น ” มผ หมายถึง ไม่ผ่าน ” นักเรียนต้องเข้ารับการซ่อมเสริมและประเมินตามที่โรงเรียนกำหนด แล้วจะได้รับการเปลี่ยนระดับผลการประเมินให้เป็น ” ผ หมายถึง ผ่านการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน “